วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Information & Communication Technology

Information & Communication Technology

เทคโนโลยีสารสนเทศ




















1.1ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ทำให้โลกของเราก้าวหน้ามากกว่ายุคใดๆ 
ในอดีต  ทำให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากมาย
ชนิดที่คนรุ่นพ่อหรือรุ่นปู่ของเราไม่เคยนึกฝันว่าจะทำได้มาก่อน 
คอมพิวเตอร์ช่วยให้มนุษย์สามารถส่งดาวเทียมขึ้นไป
โคจรรอบโลกได้มากมาย   ดาวเทียมบางดวงกำลังมองลงมา
บนผิวโลกด้วยนัยน์ตาที่คมกริบ   บางดวงกำลังถ่ายทอดสด
รายการโทรทัศน์ให้ผู้ชมหลายพันล้านคนได้เห็นการ
แข่งขันฟุตบอลได้พร้อมกันทั่วโลก  บางดวงเดินทางมุ่งสู่
ขอบจักรวาลอันไกลโพ้นเพื่อถ่ายภาพสิ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป
นับพันล้านไมล์มาให้เราดู
                
spac_gps_navstar_iia_iir_iif_constellation_lg.jpg
ดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลก ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร


















โครงข่ายไฟเบอร์อ็อปติกส์ (Fiber Optic Cables) ใต้ทะเล
















บนท้องฟ้าคอมพิวเตอร์ช่วยให้การเดินทางของเครื่องบินมีความปลอดภัย 
ในมหาสมุทรมีเส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cables)ทอดวางอยู่อย่างสงบ 
 แต่ข้างในกำลังทำหน้าที่ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระยะทางไกลๆ 
เสมือนเส้นเลือดใหญ่ของระบบเครือข่าย  ทำให้เราสามารถเรียกข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก
2858 - ห้องสมุดดิจิทัลสวนกุหลาบฯนนท์
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
                















คอมพิวเตอร์หลายเครื่องในโรงเรียนกำลังให้บริการ
ศึกษาค้นคว้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียน  
บางเครื่องกำลังจัดทำระบบฐานข้อมูล ขณะที่อีกหลายเครื่อง
ใช้ประกอบการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ในห้องประชุม
อาจกำลังนำเสนอข้อมูลต่างๆ  เครื่องคอมพิวเตอร์อีกหลายเครื่อง
อาจกำลังใช้พิมพ์เอกสารคำสอนหรือข้อสอบให้กับคุณครู  
บางเครื่องอาจจะใช้คิดคำนวณเงินเดือนบุคลากรและ
รายรับรายจ่ายของโรงเรียน   แต่ละปีนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลายนับแสนคน ต้องคร่ำเคร่งอยู่กับ
การสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา 
ซึ่งการสอบใหญ่ที่ทำกับนักเรียนทั้งประเทศนั้น
จะไม่มีทางทราบผลสอบได้ทันเวลาเลย 
หากยังใช้คนมานั่งตรวจข้อสอบ คิดคะแนน
 และจัดเรียงลำดับผู้สอบผ่านเข้าเรียนในสาขาต่างๆ 
ตามที่ที่ผู้สอบเลือกสมัครไว้  ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย

http://www.acerepairs.net/wp-content/uploads/2012/07/5598284050_16dce7512e_b.jpeg
คอมพิวเตอร์ ณ จุดจ่ายเงิน ในบริการค้าปลีก (ห้างสรรพสินค้า)


























 



  ผู้คนในสมัยนี้มีพฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยแตกต่างไปจากในอดีต 
ศูนย์การค้าหลายแห่งเปิดให้บริการจนถึงกลางคืน  
อาจใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดและผู้ที่ตรวจสอบบัตรเครดิตว่า
ใช้ชำระเงินได้หรือไม่ได้ก็คือคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีตู้เอทีเอ็ม
ติดตั้งเอาไว้ให้เรียกเงินสดได้ทันใจ คอมพิวเตอร์อีกนั่นแหละ
ที่จะคอยตรวจสอบว่ามีเงินอยู่ในบัญชีหรือไม่ ถ้ามีก็ยอมให้
ถอนเงินได้  ในส่วนของผู้บริหารศูนย์การค้าก็สามารถ
ทราบยอดสินค้าที่จำหน่ายออกไปแล้วและยอดสินค้า
ที่อยู่ในสต็อคแม้จะมีจำนวนสินค้าจำนวนมากมายหลายพัน
หลายหมื่นรายการก็ตาม เพราะมีคอมพิวเ
จัดทำระบบฐานข้อมูลสินค้า

คอมพิวเตอร์ในทางการแพทย์















            



คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลยุคใหม่มีอยู่มากมายหลายแบบ 
บางเครื่องกำลังถูกใช้บันทึกประวัติคนไข้ บางเครื่องกำลัง
ค้นหายาที่แพทย์สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วย บางเครื่องก็ทำการคำนวณ
และสร้างภาพสมองของคนไข้จากการสแกนด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ 
ขณะที่บางเครื่องอาจจะกำลังหาชีพจรของผู้ป่วยหนักในห้องไอซียู  
หรือคอมพิวเตอร์บางเครื่อง 


ตลาดหลักทรัพย์ (ตลาดหุ้น Stock Exchange)

















คอมพิวเตอร์ในตลาดหลักทรัพย์ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถ
ติดต่อสื่อสารด้านราคาหุ้นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นผล
ให้เกิดการหมุนเวียนเงินตราเกิดกระแสการลงทุน 
และยังสมารถทราบการขึ้นลงของราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ 
ได้อีกด้วย

1.2  ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
      เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology) 
 หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยรวบรวม  จัดเก็บ ประมวลผล เรียกใช้ 
 ถ่ายทอด และนำเสนอด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบ
ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ  ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลักคือ  
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

        1.3  ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพ 
 ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง  ทำให้งานต่างๆ 
ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว  เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
 ลักษณะสำคัญมีดังนี้
1.3.1 Speed  ความเร็ว   เพราะคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร
ล้วนเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานโดยอาศัยสัญญาณทางไฟฟ้า  
จึงทำงานได้อย่างรวดเร็วมาก
คอมพิวเตอร์ทำงานได้รวดเร็ว























1.3.2  Reliable ความเชื่อถือได้   
ถ้าได้รับการป้อนคำสั่งที่ถูกต้อง อุปกรณ์ต่างๆ 
ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำงานด้วยความแม่นยำ
ถูกต้องและเชื่อถือได้เสมอไม่ว่าจะมีงานในปริมาณมากๆ
 หรือต้องปฏิบัติซ้ำๆ
Computer is reliable คอมพิวเตอร์เชื่อถือได้























1.3. 3  Storage Capability ความสามารถในการเก็บข้อมูล   
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมในปัจจุบัน
สามารถเก็บโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเอาไว้ได้ 
การเรียกใช้งานจึงทำได้ง่ายและสะดวก   
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhmgIOHz_It1deFY5wQy68fj6l08z_SeMASfm7EjJG5kV_w5OBswsLrcsowuhOf28zzO4kZDRAiHa0j2y4YcnV1s6MFZ9_5OtNMyh8qZforhDlIEmDcTzQLGAqPCvkeDt4Y18uBSBFWPrQ/s1600/storage+device.jpg
หน่วยเก็บข้อมูลแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ZComputer Storages) 
























1.3.4  Wide Applicability ประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง   
คอมพิวเตอร์มีความสามารถมากมาย   
จึงนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
 จึงมีความคุ้มค่าต่อการนำมาใช้งาน
Computer can be applied to many fields.
สามารถประยุกต์ใช้งานคอมพวเตอร์ได้อย่างหลากหลาย

















1.4   Impacts ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายของข้อมูล
เป็นไปอย่างรวดเร็วทุกทิศทาง  จึงส่งผลกระทบ
ต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านด้วยกัน โดยมีแนวโน้ม ดังนี้

วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ เข้าสู่ยุคสารสนเทศ (Information Age)



1.4.1 Information Society เปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ   
สังคมมนุษย์มีเปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ
หลายพันปีก่อน จากสังคมแบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรกรรม 
มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 
300 ปีที่ผ่านมา  เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็น
สังคมอุตสาหกรรมเมื่อมนุษย์เริ่มใช้เครื่องจักรมาช่วยในการทำงาน 
ปัจจุบันสังคมได้เข้าสู่ยุคสารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์  
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารพัฒนาก้าวหน้า
อย่างรวดเร็ว การใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง


OnDemandServices
On Demand Service 











1.4.2  On Demand สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  
จะมีลักษณะของการสื่อสารแบบสองทางและโต้ตอบกันได้  
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำได้  เช่น 
การใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตที่สามารถตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ได้


ทำงานได้ทั้งปี  ทั้งวันทั้งคืน และทั้งปี



















1.4.3 Anytime & Anyplace
 เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่ ทุกเวลา
 ระยะทางหรือสภาพภูมิศาสตร์ไม่เป็นปัญหา  
ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรม
ไปทุกหนแห่งตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้อง
มีวันหยุดและสามารถใช้บริการจากที่บ้านได้


Globalization Economics  
         











 


1.4.4  Globalization เปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นไปเป็นเศรษฐกิจโลก  
ขอบเขตการให้บริการจะขยายวงกว้างออกไปแบบไร้พรมแดน 
 ระบบเศรษฐกิจของโลกจะเชื่อมโยงและมีผลกระทบต่อกัน เช่น 
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์  มีการเผยแพร่ผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
การวางแผนระยะยาว
         










 



 1.4.5  Long Range Planning ก่อให้เกิดแผนงานระยะยาว 
 เพราะระบบข้อมูลมีความสมบูรณ์  การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับข้อมูล
และสารสนเทศทำให้มีความรอบคอบและลดข้อผิดพลาดลงได้  
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 
จะต้องทำการศึกษาวิจัยนำร่อง และทำประชาพิจารณ์
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้กระบวนการทำงานยากๆ 
เหล่านี้สำเร็จลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว
Network Organization
           


















1.4.6  Network Organization การจัดองค์กรจะมีลักษณะเป็นเครือข่าย 
 เพราะมีระบบการสื่อสารสองทางและกระจายอำนาจ  สร้างเครือข่ายผูกพันกัน
เป็นกลุ่มงาน รวมถึงข้ามหน่วยงานกันได้ไม่ยาก  เช่น กระทรวง กรม กองต่างๆ 
จะเชื่อมโยงข้อมูลกันมากขึ้น   ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศตัวเป็นรัฐบาล
อิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) เพื่อให้การบริการต่อประชาชนทำได้ดีขึ้น

พัฒนาการคอมพิวเตอร์
ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทันสมัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้  
มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องคำนวณมาตั้งแต่สมัยโบราณ  โดยเริ่มตั้งแต่ ลูกคิด 
(abacus) ซึ่งคาดกันว่าชาวจีนเมื่อหลายพันปีมาแล้วเป็นผู้พัฒนาขึ้น 
 และมีการพัฒนาเครื่องคำนวณต่อมาอีกเรื่อยๆ  

ในปี พ.ศ.2185  ปาสคาล (Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  
ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณแบบกลไกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

  
Mechanical Calculator  (เครื่องคำนวณเชิงกลไก ) ผลงานของ Blaise Pascal













ต่อมาในปี พ.ศ. 2237 ไลบ์นิซ (Leibniz) ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์
เครื่องคำนวณที่สามารถคูณและหารได้  
และยังมีผู้พัฒนาเครื่องคำนวณต่อเนื่องกันมา

Gottfried Leibniz portrait


A replica of the Stepped Reckoner of Lebniz

A replica of the Stepped Reckoner of Lebniz
เครื่องคำนวณของLeibniz



























ชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ล แบ็บเบจ (Charles Babbage) 
เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเครื่องคำนวณ ในปี พ..2343 
โดยเขาประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องคำนวณที่เรียกว่า 
Difference Engine และในปี พ..2354 เขาได้เริ่มพัฒนา
เครื่องคำนวณแบบใหม่ที่ชื่อ Analytical Engine 
ซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายกับคอมพิวเตอร์ คือมีหน่วยความจำ
 หน่วยคำนวณ และวิธีการที่จะให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง
จนได้ผลลัพธ์ออกมา  แต่ข้อจำกัดของเทคโนโลยีในสมัยนั้นทำให้
ไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีความละเอียดสูง  
เครื่องของแบบเบจจึงไม่สามารถใช้งานได้ 


Difference Engine 
Difference Engine
Difference Engine  เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์

Charles Babbage กับเครื่องคำนวณที่สามารถป้อนโปรแกรมได้
 (Programable Device)มีชื่อเรียกว่า Analytical Engine













































ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ทางกองทัพต้องการเครื่องคำนวณ
เพื่อใช้ในกิจการทหารทางฝ่ายเยอรมนี และอังกฤษ 
ได้พยายามพัฒนาเครื่องถอดรหัส เพื่อจะได้ล่วงรู้การสั่งการทางทหาร
ของแต่ละฝ่าย  ขณะที่กองทัพสหรัฐต้องการเครื่องคำนวณการ
ยิงของอาวุธหนักต่างๆ    พ.ศ.2487 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้าง
เครื่องคำนวณไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สามารถคำนวณจำนวนที่มีค่าต่างๆ 

โดยศาสตราจารย์ ไอเคน (Aiken)
 แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และให้ชื่อว่า มาร์ควัน (Mark I )



Harvard 1 looking from left to right
Harvard Mark-I














2.1  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 ยุคหลอดสุญญากาศ 
Vacuum Tubes  (พ.ศ.2488 – 2501)

มอชลี (Mouchly) และ เอคเคิร์ท (Eckert) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย 
ได้เริ่มพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศชื่อ  ENIAC 
 ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก และในช่วงเวลาเดียวกันนี้
ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ และเครื่องคำนวณที่ใช้
หลอดสุญญากาศขึ้นอีกหลายรุ่นด้วยกัน  ซึ่งหลอดสุญญากาศ 
Vacuum Tubes  เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ 
กินไฟฟ้ามาก เพราะต้องเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอนวิ่งผ่านแผ่นตาราง   
มีการพัฒนาหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก  ระยะแรกใช้บัตรเจาะรู
 แต่ทำงานได้ช้า จึงได้พัฒนาวงแหวนแม่เหล็กและ


หลอดสุญญากาศ  Vacuum tube













2.2  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2  : ยุคทรานซิสเตอร์  Transistors  (พ.ศ.2500 – 2507)
ทรานซิสเตอร์เป็นผลงานของนักวิจัยแห่งบริษัทเบลล์ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ครั้งสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์ Transistors มีขนาดเล็ก 
ใช้กระแสไฟน้อย ทนทานและราคาถูกกว่าหลอดสุญญากาศ  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึง
มีขนาดเล็กลง  สามารถผลิตเพื่อการค้า ได้เป็นจำนวนมาก  คอมพิวเตอร์ยุคนี้ส่งผลให้เกิด
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  เช่น  องค์การนาซ่า 
 ใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณและควบคุมยานอวกาศต่างๆ ในยุคแรก
 และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
http://i1-news.softpedia-static.com/images/news2/Computer-Network-to-Research-Transistor-Miniaturization-2.jpg
Transistors 
https://fahmirahman.files.wordpress.com/2011/01/2_2.jpg
Transistors 


































2.3  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3  ยุควงจรรวม  (พ.ศ.2508 – 2512)
ในยุคนี้มีการพัฒนาวิธีการสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบน
แผ่นซิลิคอนขนาดเล็ก ทำให้เกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิคอนที่เรียกว่า
 ไอซี (Integrated Circuit : IC)  พัฒนาการของไอซีทำให้คอมพิวเตอร์
มีความซับซ้อนสูงขึ้น  มีวงจรการทำงานที่ทำการคิดคำนวณ
จำนวนเต็มได้เป็นหลายล้านครั้งต่อวินาที นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา
หน่วยความจำที่ใช้ไอซี  และมีการพัฒนาหน่วยเก็บข้อมูลมาเป็น
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)  เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กลงมาก 
อุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์เริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
integrated circuit  วงจรรวม หรือ monolithic integrated circuit 
IC, a chip, or a microchip)

2.4  คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 ยุคไมโครโพรเซสเซอร์  (พ.ศ.2513-ปัจจุบัน)
ในยุคนี้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าถึงขั้นสร้างวงจรรวมที่มีโครงสร้าง
ซับซ้อนมากรวมไว้ในแผ่นซิลิคอนขนาดเล็กเรียกว่า วงจรวีแอลเอสไอ 
(Very Large Scale Integrated: VLSI)  เป็นวงจรที่สามารถนำทรานซิสเตอร์
นับล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิคอนขนาดเล็กเพียงแผ่นเดียว ผลิตเป็นหน่วย
ประมวลผลที่ซับซ้อนเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) 
ทำให้สามารถผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและมีประสิทธิภาพสูง คือ 
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 
(Personal Computer : PC) ทีใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
Microprocessor


















เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถพัฒนาวงจรวีแอลเอสไอ
ให้มีจำนวนทรานซิสเตอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ชิปประมวลผล
ในปัจจุบันจึงมีขีดความสามารถสูงขึ้นเป็นทวีคูณ 
จึงทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้พร้อมกันหลายงาน 
และยังเชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เน็ตเวิร์ก (Network) 
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันยังมีความสามารถประมวลผลข้อมูล
ได้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นคิดคำนวณตัวเลข  ประมวลข้อความ 
รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว  คอมพิวเตอร์สมัยใหม่จึง
ทำงานกับสื่อได้ทุกประเภทหรือสื่อประสม (Multimedia)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น